เหมือน ตึกอาคารที่สูงกับเตี้ยที่บอกความรู้สึกต่างกัน แต่ผมก็นึกถึงสีที่ต้องมีความสัมพันธ์กับรูปทรงด้วย ซึ่งพอไปอ่านเรื่อยของทฤษฏีสี ก็จะเห็นเรื่องของระดับค่า
น้ำหนักของสีที่แตกต่างกัน ความสัมพันธ์ของสีกับรูปทรง และความหมายที่มีต่อความรู้สึก ผมจึงมานั่งปรึกษากับพี่ champ ก็รองอถิบายตามที่ลองคิดมา แกตอนแรกก็นึกอะไรไม่ออก นั่งฟังเพลงกันซักพัก ก็นึกถึงเพลงก็มีระดับที่แตกต่างกันออกไปตามเสียงของเครื่องดนตรีต่างๆหนักเบาต่างกันก็เลยอยากลองทำอะไรกับมันดู ก็อยากให้อาจารย์ช่วยแนะนำด้วยนะคับ
การรับรู้ (Perception) คือ ขบวนการที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการเลือกสิ่งเร้า (selection),การประมวลสิ่งเร้า (organization) และการแปลผลตีความสิ่ง เร้า (interpretation) ดังนั้นทั้ง ผัสสะ และการรับรู้ จึงเกี่ยวโยงกันอยู่ในแง่ของการทำงานที่ต่อเนื่องกัน นอกจากนี้ การรับรู้ยังเป็นขบวนการที่มีส่วนเกี่ยวโยงกับความจำ (Memory) ในตอนที่แปลผลตีความสิ่งเร้า จะต้องเทียบเคียงกับประสบการณ์เดิมในความจำ
การจัดองค์ประกอบการรับรู้ (Perceptual organization) การจัดองค์ประกอบการรับรู้ หมายถึง การที่ผู้บริโภคจัดข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ให้เป็นระเบียบ เพื่อให้มีความหมายที่เข้าใจได้มากขึ้น และเพื่อให้สามารถแสดงพฤติกรรมตอบสนองได้ถูกต้อง ( Assael.1998:225)หลักพื้นฐานของการจัดองค์ประกอบการรับรู้ คือ “การรวมกลุ่ม” (integration) ซึ่งหมายความว่า ผู้บริโภครับรู้สิ่งเร้าในลักษณะเป็นภาพรวม (an organized whole) ไม่ได้มองสิ่งเร้าแต่ละส่วนที่แยกกัน การมองเป็นภาพรวมจะช่วยให้การประมวลข้อมูลเพื่อให้เข้าใจความหมายได้ง่ายเข้า ซึ่งสอดคล้องตามหลัก จิตวิทยาของเกสตัลท์ (Gestale psychology) ที่กล่าวไว้ ว่า ‘ส่วนรวมมีความสำคัญมากกว่าส่วนย่อยรวมกัน” (The whole is greater than the sum of the parts)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น