วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ต่อออกมา...

จากที่ลองคิดอยู่หลายทางเกี่ยวกับเรื่องของ negative-positive หลงไปถึงเรื่องหลักการมองต่างๆไปไกล ก็เลยลองปรึกษากับเพื่อนดูแล้ว ก็ได้อะไรมาต่อยอด ผมก็นึกถึงอย่างนึงขึ้นมาเกี่ยวกับ ภาพถ่ายขาวดำ ก็เลยถามเป็ด เรื่องกระบวนการอัดภาพขาวดำ ฟิล์ม จะเป็น negative ใช้วิธีการฉายแสงผ่านฟิล์มลงมาบนกระดาษ ก็จะเป็น positive แสงที่ผ่านฟิล์มจะทำให้เกิดภาพขาวดำที่ตรงกันข้ามกัน

stencil (สเทน'เซิล) [N] ลายฉลุ, See also: แผ่นฉลุ [VT] คัดลอกลวยลายโดยใช้แผ่นฉลุ
n. กระดาษไขที่ใช้ในการพิมพ์โรเนียว,ลายฉลุ,แผ่นฉลุ. vt. ทาสีหรือป้ายบนลายฉลุ,ทำตัวอักษรหรือเครื่องหมายด้วยลายฉลุ.
-stenciler,stenciller n.

stencil คือด้านโครงสร้าง เทคนิก เหมือนกับกระบวนการอัดภาพขาวดำ การทำstencilมีแบบที่เป็นnegativeเหมือนฟิล์ม spay แทนแสงในเครื่องอัดภาพขาวดำ และจะได้ภาพในส่วนที่ตรงข้ามกับวัสดุที่เป็นแบบ
พอทดลองเกี่ยวกับstencilสักพักก็นึกถึงคำว่า opposite [N] สิ่งที่อยู่ตรงกันข้าม ,[ADJ] ที่อยู่ตรงกันข้าม, See also: ตรงข้าม .
สิ่งที่อยู่ตรงข้ามมีมากมาย เช่น





ผมจึงลองเอาสิ่งต่างๆมาลองเล่นกับคำว่า opposite ดูคราวหน้าจะมีภาพมาให้ดูกันคับ..พยายามเอาภาพลงอยู่



วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2550

nagative - positive #2

ต่อจากเรื่องในครั้งที่แล้ว ที่สนใจคือเรื่อง nagative - positive จึงไปหาเนื้อหาที่เกี่ยวกับเรื่องของตัวมันดู ก็ไปเจอว่า เกี่ยวกับการมองเห็น การับรู้ทางสายตา (Perception) ก็พยายามอ่านทำความเข้าใจกับมัน แล้วก็ปรึกษาเพื่อนดูว่ามันน่าจะเกี่ยวกับอะไรบ้าง อะไรจะส่งผลกระทบทำให้เราแปลความหมายในสิ่งที่เราจะสื่อ คือตอนนี้นึกถึงรูปทรงเลขาคณิต ในเชิงที่บอกถึงความรู้สึก ว่าสี่เหลี่ยมบอกความรู้สึกยังไง เรื่องขนาดที่สามารถบอกความแตกต่างของมวล
เหมือน ตึกอาคารที่สูงกับเตี้ยที่บอกความรู้สึกต่างกัน แต่ผมก็นึกถึงสีที่ต้องมีความสัมพันธ์กับรูปทรงด้วย ซึ่งพอไปอ่านเรื่อยของทฤษฏีสี ก็จะเห็นเรื่องของระดับค่า
น้ำหนักของสีที่แตกต่างกัน ความสัมพันธ์ของสีกับรูปทรง และความหมายที่มีต่อความรู้สึก ผมจึงมานั่งปรึกษากับพี่ champ ก็รองอถิบายตามที่ลองคิดมา แกตอนแรกก็นึกอะไรไม่ออก นั่งฟังเพลงกันซักพัก ก็นึกถึงเพลงก็มีระดับที่แตกต่างกันออกไปตามเสียงของเครื่องดนตรีต่างๆหนักเบาต่างกันก็เลยอยากลองทำอะไรกับมันดู ก็อยากให้อาจารย์ช่วยแนะนำด้วยนะคับ


การรับรู้ (Perception) คือ ขบวนการที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการเลือกสิ่งเร้า (selection),การประมวลสิ่งเร้า (organization) และการแปลผลตีความสิ่ง เร้า (interpretation) ดังนั้นทั้ง ผัสสะ และการรับรู้ จึงเกี่ยวโยงกันอยู่ในแง่ของการทำงานที่ต่อเนื่องกัน นอกจากนี้ การรับรู้ยังเป็นขบวนการที่มีส่วนเกี่ยวโยงกับความจำ (Memory) ในตอนที่แปลผลตีความสิ่งเร้า จะต้องเทียบเคียงกับประสบการณ์เดิมในความจำ


การจัดองค์ประกอบการรับรู้ (Perceptual organization) การจัดองค์ประกอบการรับรู้ หมายถึง การที่ผู้บริโภคจัดข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ให้เป็นระเบียบ เพื่อให้มีความหมายที่เข้าใจได้มากขึ้น และเพื่อให้สามารถแสดงพฤติกรรมตอบสนองได้ถูกต้อง ( Assael.1998:225)หลักพื้นฐานของการจัดองค์ประกอบการรับรู้ คือ “การรวมกลุ่ม” (integration) ซึ่งหมายความว่า ผู้บริโภครับรู้สิ่งเร้าในลักษณะเป็นภาพรวม (an organized whole) ไม่ได้มองสิ่งเร้าแต่ละส่วนที่แยกกัน การมองเป็นภาพรวมจะช่วยให้การประมวลข้อมูลเพื่อให้เข้าใจความหมายได้ง่ายเข้า ซึ่งสอดคล้องตามหลัก จิตวิทยาของเกสตัลท์ (Gestale psychology) ที่กล่าวไว้ ว่า ‘ส่วนรวมมีความสำคัญมากกว่าส่วนย่อยรวมกัน” (The whole is greater than the sum of the parts)


วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ความสัมพันธ์ของ nagative - positive

ผมต่อออกมาจากงานที่ทำในกลุ่ม International style โดยผมสนใจเรื่องความสัมพันธ์ของพื้นที่ ในตัวงานที่เป็น nagative - positive จึงตั้งข้อสงสัยขึ้นมา ถ้าพื้นที่ที่เป็น nagative สามารถเปลี่ยนเป็น positive ได้อย่างไร แล้วสีจะมีความสัมพันธ์ที่ทำให้การมอง nagative - positive ง่ายขึ้นได้อย่างไร

ผมสนใจที่จะใช้ความสัมพันธ์ของ nagative - positive มาสร้างเป็นงานโดยใช้การจัดองค์ประกอบของสองอย่างนี้ และผมมองถึงความหมายแฝงที่อยู่ในตัวของ nagative space แต่โดยปกติตัวเนื้อหาจะอยู่ในส่วนของ positive จึงอยากลองทำเรื่องนี้ดู ว่าเรื่องของ nagative - positive สามารถมาทำอะไรได้บ้าง














^ตัวอย่างรูปแบบของการเปลี่ยนแปลง nagative - positive